Preaload Image
Back

ศูนย์เครื่องมือกลาง
Central Instrument Center 

ประวัติและความเป็นมา

ศูนย์เครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอกคณะฯ ทั้งนี้เพื่อประหยัดงบประมาณรายจ่ายสำหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีราคาสูงซ้ำซ้อนกันในภาควิชาต่างๆ ของคณะฯ  เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการให้บริการวิชาการ และสร้างรายได้ให้แก่คณะอีกด้วย

โครงสร้างการบริหารงานของศูนย์เครื่องมือกลาง

ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานเลขานุการคณะ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการบริหารงานและโครงสร้างของศูนย์เครื่องมือกลาง มีคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่วางแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ และติดตามประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ฯ ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่บริหารและจัดการในการให้บริการของศูนย์ฯ การตรวจสอบดูแลรักษาเครื่องมือ และปฏิบัติงานตามนโยบายของคณะกรรมการบริหาร  ซึ่งคณะกรรมการฝ่ายบริหารมีการแบ่งฝ่ายต่างๆ เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย คือ ฝ่ายธุรการ  ฝ่ายบริการ  และฝ่ายเครื่องมือ ดังนี้

ที่ตั้ง

ศูนย์เครื่องมือกลางตั้งอยู่ ณ ชั้น 2 อาคารพรีคลินิก (อาคาร 71 )โดยมีห้องปฏิบัติการประจำศูนย์เครื่องมือกลาง จำนวน 8 ห้อง ได้แก่

1. ห้องสำนักงาน (ห้อง 71207)
2. ห้องเครื่องมือ HPLC
3. ห้อง FreezeDryer
4. ห้อง AAS
5. ห้อง ICP
6. ห้อง FTIR และ Spectrometer
7. ห้องเตรียมตัวอย่างและวิเคราะห์น้ำ
8. ห้องเครื่องแก้วและสารเคมี

ภารกิจ

ศูนย์เครื่องมือกลางมีภารกิจการให้บริการ ดังนี้
1. บริการวิเคราะห์ทดสอบตัวอย่าง
1.1 วิเคราะห์ทดสอบน้ำ เช่น ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Conductibility)ค่าความเค็ม (Salinity) สี ความขุ่น ความกระด้าง แอมโมเนีย ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)ของแข็งแขวนลอย (Total Suspended Solid) ของแข็งละลายน้ำ (Total Dissolved Solid)ของแข็งทั้งหมด (Total Solid) ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ไนเตรท คลอไรด์ ฟลูออไรด์ ซัลเฟต ซัลไฟด์ น้ำมันและไข (Fat Oil and Grease) COD BOD ไนโตรเจนทั้งหมด (TKN)Fe Cu Mn Mg Al B Ca Zn Na K Pb Cd  Mo Ni Cr
1.2 วิเคราะห์ทดสอบ ดิน พืช ปุ๋ย เช่น ความเป็นกรด –ด่าง (pH) แจกแจงเนื้อดิน EC อินทรียวัตถุ
(O.M.) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) Cation Exchangeable (K Ca Mg) โพแทสเซียม (K) Ca Mg Fe
Mn Cu Zn B Moisture
1.3 วิเคราะห์ตัวอย่างกลุ่มโลหะด้วยเครื่อง AAS
1.4 วิเคราะห์ตัวอย่างด้วย HPLC
1.5 วิเคราะห์หมู่ฟังกชันด้วยเครื่อง FTIR
1.6 ทำแห้งตัวอย่างด้วยวิธี FreezeDryer

2.การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ได้แก่
– เครื่อง AAS  ใช้วิเคราะห์ทดสอบปริมาณโลหะ (Al B Ca Cd Cu Cr Fe K Mg Mn Mo Na Ni Pb Zn Hg As เป็นต้น)
– เครื่อง HPLC ใช้วิเคราะห์ปริมาณสารเคมี ยา เมตาโบไลต์ วิตามิน กรด โปรตีน ในอาหาร พืช สิ่งแวดล้อม ยาง เลือด เป็นต้น
– เครื่อง FTIR ใช้วิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นของสารอินทรีย์
– เครื่อง Spectrometer ช่วง UV-Visible ชนิด Single Beam 1 เครื่อง และ Double Beam 1 เครื่อง
– เครื่อง Freeze Dryer เพื่อทำแห้งตัวอย่าง (ความจุในการทำแห้งได้วันละ 1 กิโลกรัม)
– เตาเผา ขนาด 10 ลิตร อุณหภูมิห้อง – 1,100 เซลเซียส
– เครื่องกลั่นไนโตรเจนกึ่งอัตโนมัติ
– เครื่องอื่นๆ เช่น ตู้อบ 200 C / Water bath / Digestion block / pH meter / Hot plate / Incubator / Conductivitymeter / Sonicator bath / 4 position Analytical Balance / Homogenizer / Turbidimeter / Freezer / Nitrogen Distillation / เครื่องทำน้ำกลั่น DI
และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทางเคมีพื้นฐาน เป็นต้น

3. การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเครื่องมือสำหรับนักศึกษา

4. การจัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการ

5. ให้บริการเครื่องมือและร่วมสอนวิชาด้วนเครื่องมือ

6. ภารกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนภารกิจด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์เครือข่ายนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรในห้องปฏิบัติการ และเครือข่ายภายนอก เช่นการจัดอบรมแบบมีค่าลงทะเบียน ประสานงานอุทยานวิทยาศาสตร์

ข้อมูลการติดต่อ

ศูนย์เครื่องมือกลาง ชั้น 2 อาคารพรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000

โทร 073-331303 หรือ โทร 073-313928-50 ต่อ 3600-3601
โทรมือถือ 086-962 5014
โทรสาร 073-335130
เวบไซต์: http://www.inct.sat.psu.ac.th/
Fanpage Faccebook: https://www.facebook.com/psu.inct/

ข่าวสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง