Preaload Image
Back

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์

ชื่อปริญญาภาษาไทย      วท.บ. (คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ  B.Sc.(Mathematics and Computer Science)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และบูรณาการความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาหรือสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม

จุดเด่นของหลักสูตร

  • หลักสูตรมีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติและวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรมีความพร้อมในด้านเครื่องมือและการเรียนการสอนที่ทันสมัย
  • คณาจารย์ในหลักสูตรมีความเชี่ยวชาญในสาขาเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทางด้านการศึกษาหรือวิชาการ การวิเคราะห์ระบบการประกันชีวิต การประกันภัย การเงินและการธนาคาร การวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาชีพอิสระ

ทำไมต้องเรียนสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์

ส่วนต่าง ๆ รอบตัวเราล้วนมี “คณิตศาสตร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง นักคณิตศาสตร์คือ นักคิด นักวิเคราะห์ นักคาดคะเน และนักวางแผน ตัวอย่างสิ่งที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาศักยภาพเมื่อมาเรียนสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจเฉพาะด้าน) เช่น

คณิตศาสตร์กับการพยากรณ์อากาศและการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตต้องประยุกต์ใช้ข้อมูลและความรู้ทางคณิตศาสตร์และด้านสถิติมาวิเคราะห์แนวโน้มความเป็นไปได้เพื่อคาดคะเนปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การพยากรณ์อากาศต้องการข้อมูลทางสถิติ และการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ และใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเพื่อการแสดงผลเชิงพื้นที่

คณิตศาสตร์กับวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

คณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดและคำนวณส่งผลออกมาเป็นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งตัวเลข ตัวหนังสือ เสียง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ เป็นผลผลิตโดยตรงของคณิตศาสตร์ สาขาอาชีพในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

ที่มา : http://www.pbwatch.net

คณิตศาสตร์กับการการสร้างตัวแบบทางสถิติและการแสดงผลข้อมูล

คณิตศาสตร์นำไปสู่การสร้างแบบจำลองทางสถิติ และวิทยาการข้อมูล ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดการข้อมูล การสร้างตัวแบบหรือแบบจำลองเพื่อการทำนายหรือพยากรณ์ หรืออธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ของข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจต่าง ๆ พร้อมทั้งออกแบบและแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลเหล่านั้น เช่น กราฟ การแสดงผลเชิงพื้นที่ เป็นต้น

คณิตศาสตร์กับงานสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมศาสตร์

งานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ต้องการความรู้ทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการออกแบบสิ่งก่อสร้าง เช่น การวัดแสง ความชื้น ร่มเงา การคำนวณมุมองศาส่วนต่าง ๆ ช่วยให้ก่อสร้างทำได้แม่นยำขึ้นการคำนวณการรับน้ำหนัก ช่วยให้สิ่งก่อสร้างมั่นคง การคำนวณการใช้วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง ช่วยในการประเมินราคาการก่อสร้าง เป็นต้น

ที่มา : https://www.saylor.org/site/wp-content/uploads/2011/11/ME205-1.1-TEXT.pdf

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

icon-หลักสูตร-1

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1. สาระภาษาและการสื่อสาร 6 หน่วยกิต
2. สาระการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงตรรกะและตัวเลข 4 หน่วยกิต
3. สาระศาสตร์พระราชาและประโยชน์เพื่อนมนุษย์ 4 หน่วยกิต
4. สาระความเป็นพลเมืองและชีวิตสันติ 5 หน่วยกิต
5. สาระการเป็นผู้ประกอบการ 1 หน่วยกิต
6. สาระการอยู่อย่างรู้เท่าทันและการรู้ดิจิทัล 4 หน่วยกิต
7. สาระสุนทรียศาสตร์และกีฬา 2 หน่วยกิต
8. สาระการเรียนรู้เลือกศึกษาทั่วไป 4 หน่วยกิต
icon-หลักสูตร-2

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

ไม่น้อยกว่า 97 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาเอก 24 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาเอกบังคับ 48 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาเอกเลือก 25 หน่วยกิต
icon-หลักสูตร-3

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
icon-หลักสูตร-4

ง. นักศึกษาเลือกแผนทั่วไปหรือแผนสหกิจศึกษา

แผนทั่วไป ฝึกงานไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง
แผนสหกิจศึกษา ปฏิบัติสหกิจ 1 ภาคการศึกษา

การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร

นักศึกษาสามารถเลือกแนวการศึกษาได้ตามความสนใจ ซึ่งทางหลักสูตรกำหนดแนวการศึกษาไว้ทั้งหมด 4 แนวทางดังต่อไปนี้

ตลาดแรงงานและเส้นทางอาชีพ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนการสอน

ทางหลักสูตรมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยและเพียงพอสำหรับนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาการช้อมูลและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 ห้อง ประกอบด้วย

  1. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขนาด 100 ที่นั่งจำนวน 1 ห้อง
  2. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขนาด 50 ที่นั่งจำนวน 1 ห้อง
  3. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขนาด 40 ที่นั่งจำนวน 2 ห้อง