หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
M.Sc. (Applied Physics)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ มีความมุ่งหมายที่จะผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิจัยเชิงลึก สามารถบูรณาการความรู้ มีทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในสาขาฟิสิกส์ประยุกต์ โดยเฉพาะกลุ่มฟิสิกส์พอลิเมอร์ และกลุ่มฟิสิกส์นิวเคลียร์ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำและเป็นที่พึ่งทางวิชาการขององค์กรที่ตนปฏิบัติงานได้ สามารถถ่ายทอดและเชื่อมโยงความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรมีจุดเน้นที่ฟิสิกส์พอลิเมอร์ และฟิสิกส์นิวเคลียร์ประยุกต์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการประเทศ โดยเฉพาะในการพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ด้านฟิสิกส์ประยุกต์
- มีบุคลากรที่มีความสามารถ และมีเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมที่จะทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านต่าง ๆ ทางด้านฟิสิกส์พอลิเมอร์ เช่น งานด้านรีโอโลยีของพอลิเมอร์ กระบวนการขึ้นรูป การทดสอบพอลิเมอร์ การประยุกต์ใช้งานวัสดุพอลิเมอร์ ฟิสิกส์ของเมมเบรน และฟิสิกส์พอลิเมอร์ผสม
- มีบุคลากรที่เป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่มีความสามารถ มีเครื่องมือที่สำคัญและทันสมัย พร้อมที่จะศึกษาค้นคว้าวิจัย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาและการทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น เช่น การวิเคราะห์เพื่อประเมินอัตราเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากธรรมชาติ การประยุกต์ใช้เทคนิคทางรังสีศึกษาอัตราการตกตะกอนในแม่น้ำ และ การกัดเซาะชายฝั่ง ศึกษาแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการหาอายุของวัตถุโบราณ การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชและผลไม้เศรษฐกิจของภาคใต้ เช่น ลองกอง และปาล์ม
- ประเมินอัตราเสี่ยงจากการได้รับรังสีจากธรรมชาติ การประยุกต์ใช้เทคนิคทางรังสีศึกษาอัตราการตกตะกอนในแม่น้ำ และการกัดเซาะชายฝั่ง ศึกษาแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการหาอายุของวัตถุโบราณให้แม่นยำยิ่งขึ้น การใช้เทคนิคทางรังสีในการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย การสร้างวัสดุกำบังรังสีที่มีคุณภาพสูงแต่ราคาต่ำ
- การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเสริมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชและผลไม้เศรษฐกิจของภาคใต้ เช่น ลองกอง และปาล์ม
- พัฒนางานทางด้านฟิสิกส์พอลิเมอร์ รีโอโลยีของพอลิเมอร์ กระบวนการขึ้นรูป การทดสอบพอลิเมอร์ การประยุกต์ใช้งานวัสดุพอลิเมอร์ ฟิสิกส์ของเมมเบลนด์และฟิสิกส์พอลิเมอร์ผสม
อาจารย์ผู้สอนด้านฟิสิกส์ประยุกต์ในมหาวิทยาลัย นักวิจัยอาชีพ หรือ นักวิชาการ ด้านฟิสิกส์พอลิเมอร์ และฟิสิกส์นิวเคลียร์ ในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- แบบแผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต หลักสูตร 2 ปี ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย ในสาขาฟิสิกส์พอลิเมอร์ หรือฟิสิกส์นิวเคลียร์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรืออยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต หลักสูตร 2 ปี ประกอบด้วย หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือเทียบเท่า และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยหรือมีประสบการณ์ทำงานในภาคอุตสาหกรรมในสาขาฟิสิกส์ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
รายละเอียดของรายวิชาและแผนการเรียน สามารถอ่านได้ที่ ….URL?…
- มีผลงานตีพิมพ์ที่เกิดจากผลงานวิจัยในวาสารวิชาการระดับนานาชาติฐาน Web of ScienceI
- มีเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัยกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
- รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทกลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพของมหาวิทยาลัย ประจำปี 2557
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร (ผศ.ดร. พวงทิพย์ แก้วทับทิม) pungtip.k@psu.ac.th
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 073-312201