หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
M.Sc. (Applied Biology)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้ มีทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปฏิบัติ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถพัฒนาองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ พัฒนาคุณค่าทรัพยากรชีวภาพ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานภูมิปัญญา ภูมินิเวศและวัฒนธรรม จากการบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ได้
จุดเด่นของหลักสูตร
- นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาที่แท้จริงของท้องถิ่นหรือชุมชน ใช้ฐานทรัพยากรท้องถิ่นมาเป็นบริบทในการศึกษา วิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่
- มีเครือข่ายชุมชนสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น เครือข่ายองค์กรชาวบ้านพิทักษ์ลุ่มน้ำสายบุรี และเครือข่ายอ่าวปัตตานี
- คณาจารย์มีหลากหลายสาขาและมีความเชี่ยวชาญ และสายสนับสนุนที่มีความพร้อมในการสนับสนุนการเรียนและวิจัย มีงานวิจัยหลากหลายบนฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างคุณค่า และใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
- มีความพร้อมด้านเครื่องมือสนับสนุนการวิจัยและการเรียนการสอน
- นักศึกษามีโอกาสในการทำวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับต่างมหาวิทยาลัย และหลักสูตรสนับสนุนนักศึกษาในการนำเสนองานต่างประเทศ
- การควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ
- การปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา
- ลักษณะสัณฐาน อนุกรมวิธานและความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
- พันธุศาสตร์ระดับเซลล์ของสัตว์
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
- การใช้ประโยชน์จากโปรตีน/เปปไทด์ จากน้ำยางพารา
- การประยุกต์ใช้โปรไบโอติกส์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ผลิตภัณฑ์การหมักจากจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือเพื่อสร้างมูลค่า
- นิเวศวิทยาป่าเขตร้อนและอนุกรมวิธานพืช
- ความหลากหลายของพืช แพลงก์ตอนพืชและไดอะตอมพื้นท้องน้ำ
อาจารย์ที่สามารถสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพหรือชีววิทยาประยุกต์ นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านชีววิทยา ฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ ในภาครัฐหรือเอกชน นักวิจัยท้องถิ่นหรือในสถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการต่าง ๆ ที่บูรณาการศาสตร์ชีววิทยาด้านพืช สัตว์ จุลินทรีย์ พันธุศาสตร์ ชีวอณูโมเลกุล และสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ธุรกิจส่วนตัวในสายชีววิทยาประยุกต์ด้าน เกษตร อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร หรือด้านสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรมีหน่วยกิตรวมจำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งเป็นหมวดวิชาดังนี้
หมวดวิชา |
แผน ก แบบ ก 1 | แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
หมวดวิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า |
– |
12 |
12 |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า |
– |
6 |
18 |
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ |
36 |
18 |
6 |
รวมตลอดหลักสูตร |
36 |
36 |
36 |
หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
รหัสวิชา |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
722-511 |
การจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน Resource Management for Sustainability |
3(3-0-6) |
722-512 |
ชีววิทยาประยุกต์ Applied Biology |
3(3-0-6) |
722-513 |
ระเบียบวิธีการวิจัย Research Methodology |
2(2-0-4) |
722-591 |
สัมมนาทางชีววิทยาประยุกต์ 1 Seminar in Applied Biology I |
1(0-2-1) |
722-592 |
สัมมนาทางชีววิทยาประยุกต์ 2 Seminar in Applied Biology II |
1(0-2-1) |
722-593 |
ประเด็นชีววิทยาประยุกต์ตามกระแส Current Issues in Applied Biology |
2(2-0-4) |
แผน ก แบบ ก1 ให้ลงทะเบียนวิชา 722-513, 722-591 และ 722-592 และได้ผลการเรียน S โดยไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก
เลือกเรียน จากกลุ่มรายวิชาที่หลากหลายของหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานวิจัยหรือคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตที่เลือกตามโครงสร้างของหลักสูตร แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 6 หน่วยกิต และแผน ข 18 หน่วยกิต
หมวดวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
แผน ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 จำนวน 18 หน่วยกิต และแผน ข เป็นสารนิพนธ์ จำนวน 6 หน่วยกิต
รายละเอียดของรายวิชาและแผนการเรียน สามารถอ่านได้ที่ ….URL?…
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 – เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 – เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านชีววิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- หลักสูตรแผน ข – เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
- คุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรประสบผลสำเร็จในการผลิตบัณฑิตทั้งนักศึกษาไทยและต่างประเทศจาก เวียดนาม อินโดนีเซีย กานา
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์
Email : sitthisak.j@psu.ac.th