Preaload Image
Back

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา

ชื่อปริญญาภาษาไทย      วท.บ. (เคมี-ชีววิทยา)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ  B.Sc. (Chemistry-Biology)

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี-ชีววิทยา มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางเคมีและชีววิทยาที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นอย่างบูรณาการ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และมีความสามารถในการพัฒนาตนเอง เพื่อฺตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นภาคใต้และประเทศ

จุดเด่นของหลักสูตร

  • เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างสาขาวิชาเคมีและสาขาวิชาชีววิทยา มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ทางด้านเคมีและชีววิทยาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างเข้มข้น
  • หลักสูตรมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางเคมีและชีววิทยาในการเรียนการสอนและงานวิจัย
  • บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีทักษะความสามารถในการปฏิบัติการทั้งทางด้านเคมีและชีววิทยาเป็นอย่างดี และสามารถปฏิบัติงานทางวิชาการได้อย่างหลากหลาย
  • หลักสูตรมีความพร้อมด้านเครื่องมือที่สามารถสนับสนุนการวิจัยและการเรียนการสอน
  • งานวิจัยหลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้จริง ทันสมัยและมีคุณค่าทางวิชาการ

การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร

  1. ใช้ภาษาอังกฤษเสริมในการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  2. จัดการเรียนรู้แบบบรรยาย และแบบเชิงรุก (Active learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตร เช่น การใช้สื่อ วิดีโอ การอภิปรายค้นคว้าในชั้นเรียน โครงงาน ปัญหาเป็นฐาน เน้นกระบวนการคิด และปฏิบัติการ
  3. จัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) ร้อยละ 30 ของรายวิชาในหลักสูตร

เน้นแนวเคมี

เน้นแนวชีววิทยา

  • การวิจัยทางด้านชีววิทยา เช่น การวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ สัตววิทยา นิเวศวิทยา
  • งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
  • งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีจุลินทรีย์ในด้านอาหาร และด้านอุตสาหกรรม
  • งานวิจัยทางด้านเชื้อเพลิงสะอาดและชีวมวล
  • งานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ พอลิเมอร์ ตัวเร่งปฏิกิริยาและนาโนเทคโนโลยี
  • งานวิจัยทางด้านการวิเคราะห์อาหาร สมุนไพรและสิ่งแวดล้อม
  • งานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

นักวิทยาศาสตร์ในองค์กรของรัฐและเอกชนในด้านเคมีหรือชีววิทยา หรือทั้งเคมีและชีววิทยา นักวิจัยและพัฒนาในองค์กรของรัฐและสถานประกอบการของเอกชน นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นักวิชาการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ ครู/อาจารย์ในโรงเรียน วิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี นักวิชาการด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม บุคลากรส่งเสริมการขายและวิชาการของบริษัทธุรกิจ สารเคมี อาหาร เครื่องสำอาง และอื่น ๆ ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรืออาชีพอิสระอื่น ๆ  

หลักสูตรเป็นหลักสูตรเอกคู่ อ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 มีแผนการศึกษา 2 แบบ

  1. แผนสหกิจศึกษา รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต                             
  2. แผนทั่วไป รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตรแผนสหกิจศึกษาและแผนทั่วไป

รายละเอียดของรายวิชาและแผนการเรียน สามารถอ่านได้ที่

https://edumanual.psu.ac.th/document/2563/bsc/ptn_sat/sat-cur-chembio-63.pdf

  • สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการรับนักเรียนโดยวิธีพิเศษเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ผลงานวิจัยของคณาจารย์ในหลักสูตรที่สามารถจดสิทธิบัตร และตีพิมพ์ในวารสารทั้งในระดับนานาชาติและในระดับชาติ
  • ผลงานตีพิมพ์ในวาสารวิชาการระดับชาติและการนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการระดับชาติที่เกิดจากผลงานวิจัยในระดับปริญญาตรี
  • รางวัลสหกิจศึกษาดีเด่นในระดับคณะและวิทยาเขต

ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร

ประธานหลักสูตร ดร.ปานจันทน์  สุจริตธุรการ
Email :  panjan.s@psu.ac.th