
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.)
สาขาโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร
ชื่อปริญญาภาษาไทย วท.บ.(โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ B.Sc (Nutrition and Dietetics)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร สามารถบูรณาการความรู้ในการวางแผนจัดอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการสอดคล้องกับความต้องการสำหรับคนปกติและผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ เฉพาะรายบุคคลและกลุ่มบุคคลได้ ถ่ายทอดความรู้โดยอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ (Evidence Based) ผนวกความรู้ทางด้านโภชนศาสตร์และวิทยาศาสตร์การอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพได้ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและมีความเป็นสากล มีวิจารณญาณในการตัดสินใจ และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ


จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็น 1 ใน 9 หลักสูตรที่เปิดสอนในประเทศไทย
- เป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในภาคใต้
- เนื้อหาครอบคลุมตามข้อกำหนดของสมาคมนักกำหนดอาหารไทย เมื่อเรียนจบมีคุณสมบัติสอบขึ้นทะเบียนรับรองวิชาชีพได้
- มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและปฏิบัติการจริง ในห้องปฏิบัติและสถานการณ์จริง
- ผนวกความรู้ด้านโภชนศาสตร์และวิทยาศาสตร์การอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
- มีกิจกรรมเสริมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมและทางเลือกเพื่อประกอบอาชีพอิสระให้กับผู้เรียน
จุดเน้นงานวิจัย
- การส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน
- การประเมินและแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะขาดสารอาหารของกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงวัยเจริญพันธุ์ เด็กเล็ก ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- การศึกษารูปแบบการบริโภคอาหารที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- การศึกษาผลของพฤกษเคมีต่อตัวชี้วัดทางสุขภาพ ในระดับห้องทดลอง
- งานวิจัยทางผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษาโรคเบาหวานในสัตว์ทดลอง
- การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพ หรือผลต่อสุขภาพของสารโพลีฟีนอล
นักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ปรึกษาโภชนาการในสถานประกอบการที่เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ช่วยวิจัยสาขาโภชนาการและนักกำหนดอาหารทั้งในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ
เป็นหลักสูตร 4 ปี รับนักศึกษารุ่นละ 30 คน แผนปกติ (131 หน่วยกิต) แผนสหกิจ (135 หน่วยกิต) เนื้อหาในหลักสูตรกำหนดให้เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำของหลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารที่กำหนดโดยสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
แผนปกติ | แผนสหกิจศึกษา | |
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า | 30 | 30 |
2. หมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า | 95 | 99 |
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาเอก
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ เภสัชวิทยาเชิงโภชนาการ ชีววิทยาของเซลล์และพันธุกรรม พยาธิวิทยา หลักเคมี ชีวเคมี หลักฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ |
34 | 34 |
2.2 กลุ่มวิชาเอกบังคับ
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ หลักโภชนบำบัด โภชนบำบัดทางการแพทย์ โภชนาการศึกษาและการให้คำปรึกษาทางโภชนาการ โภชนาการตลอดวงจรชีวิตมนุษย์ โภชนาการมนุษย์ หลักการประกอบอาหาร หลักการฮาลาลสำหรับระบบบริการสุขภาพและอาหาร ความปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหารวิทยาศาสตร์การอาหารสำหรับการกำหนดอาหาร การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ปฏิบัติงานสหกิจ |
49 | 53 |
2.3 กลุ่มวิชาเอกเลือก
ตัวอย่างรายวิชา ได้แก่ *กลุ่มวิชาด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์อาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ นวัตกรรมอาหารและขนมไทย *กลุ่มวิชาด้านการบริการอาหาร การจัดการสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ศิลปะการทำอาหาร ขนมอบ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ การประกอบอาหารว่าง *กลุ่มวิชาด้านโภชนศาสตร์เชิงทดลอง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของสารพฤษเคมีและการทดสอบฤทธิ์ เทคนิคปฏิบัติการทางโภชนาการมนุษย์ |
12 | 12 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | 6 |
รวม | 131 | 135 |
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษณา ไชยมงคล
Email : laksana.c@psu.ac.th