Preaload Image
Back

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเคมีประยุกต์
M.Sc. (Applied Chemistry)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เคมีเชิงบูรณาการในสาขาต่าง ๆ คือ เคมีวิเคราะห์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ และวัสดุประยุกต์ สามารถใช้ความรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นภาคใต้ ประเทศและอาเซียนอย่างยั่งยืน ตลอดจนผลิตนักวิจัยที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ โดยจัดการศึกษาตามแนวทางพัฒนาการนิยม (progressivism) ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้  เน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและยึดประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

  • แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการ จรรณยาบรรณนักวิทยาศาสตร์ และจิตสำนึกที่ดีต่อองค์กร
  • ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเคมีประยุกต์ เน้นเคมีวิเคราะห์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ หรือวัสดุประยุกต์ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง
  • ใช้เครื่องมือพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเฉพาะทางเคมีประยุกต์ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการและมาตรฐานอุตสาหกรรม
  • ดำเนินงานวิจัยตามกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้านเคมีประยุกต์ที่ใช้สถิติร่วมด้วย โดยเน้นเคมีวิเคราะห์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ หรือวัสดุประยุกต์ และคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาความรู้ด้านเคมีประยุ ต์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและอุตสาหกรรมท้องถิ่น
  • แสดงออกถึงพฤติกรรมการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในงานที่ได้รับมอบหมาย
  • แสดงออกถึงพฤติกรรมพึ่งพาตนเองแ ะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • แสดงออกถึงการปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่กำหนดในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สร้างเครือข่าย และปรับตัวตามบริบทของสังคมที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลง
  • ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ด้านเคมีประยุกต์อย่างเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
  • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการวิเคราะห์เชิงตัวเลขในการปฏิบัติงานด้านเคมีประยุกต์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก 1

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หรือเทียบเท่า) โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง)  โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 และมีประสบการณ์ในการทำโครงงานวิจัย/การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเคมีและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  • คุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 1.1 และ 1.2  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ  สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  • คุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2.1  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 (Hi-Fi)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามของ แผนก แบบ ก 1 และผู้สมัครเข้าเรียนต้องส่งแบบฟอร์มการยืนยันความร่วมมือของผู้ประกอบการสำหรับการเข้าศึกษาต่อสาขา วท.ม. เคมีประยุกต์ แผนการเรียนแบบ Hi-Fi

แผน ก แบบ ก 2 (Hi-Fi)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามของ แผนก แบบ ก 2 และผู้สมัครเข้าเรียนต้องส่งแบบฟอร์มการยืนยันความร่วมมือของผู้ประกอบการสำหรับการเข้าศึกษาต่อสาขา วท.ม. เคมีประยุกต์ แผนการเรียนแบบ Hi-Fi

*แผนการรับนักศึกษา 15 คนต่อปี

อาชีพของผู้สำเร็จการศึกษา

  • นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือ นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และ ภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืช อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ อุตสาหกรรมพลังงาน
  • อาจารย์สาขาวิชาเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา
  • ผู้แทนจำหน่ายวัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางด้านเคมีประยุกต์
  • ผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคมีประยุกต์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ที่รับผิดชอบหลักสูตร

1. ผศ.ดร.เสาวภา โชติสุวรรณ  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร
2. ผศ.ดร.ประวิทย์ คงจันทร์
3. ผศ.ดร.รัตนา จริยาบูรณ์
4. ดร.ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์
5. ดร.อุไรวรรณ ขุนจันทร์
6. ผศ.ดร.ปฐมารัตน์ รัตนช่วย

อาจารย์ในหลักสูตร http://scitech.sat.psu.ac.th/2015/modules/staff/index2.php

รายชื่ออาจารย์ในหลักสูตร วท.ม.เคมีประยุกต์

1 ผศ.ดร.เสาวภา โชติสุวรรณ 13 ผศ.ดร.ปฐมารัตน์ รัตนช่วย
2 ผศ.ดร.ประวิทย์ คงจันทร์ 14 ผศ.ดร.ฐิติมา รุจิราลัย
3 ผศ.ดร.รัตนา จริยาบูรณ์ 15 ผศ.ดร.ชลธี ชีวะเศรษฐธรรม
4 ดร.ปรีชา กสิกรรมไพบูลย์ 16 ดร.สมรักษ์ พันธ์ผล
5 ผศ.ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ 17 ดร.แววฤดี แววทองรักษ์
6 ผศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม 18 ดร.ฟารีดา หะยีเย๊ะ
7 ผศ.ดร.วนิดา เจียรกุลประเสริฐ 19 ผศ.ดร.บุญญา ชาญนอก
8 ดร.วีรยา คุ้มเมือง 20 ผศ.ดร. อาคม  ปะหลามานิต
9 ดร.อุไรวรรณ ขุนจันทร์ 21 ผศ.ดร.มนตรี เลื่องชวนนท์
10 ดร.วันเพ็ญ นาเกลือ 22 ดร.ธนากร จันทสุบรรณ
11 ดร.จุฑารัตน์ ว่องพัฒนพล 23 ดร.ศุภรดา สุรพันธนากร
12 ดร.ธัญรัศม์ อุทัยพันธ์

ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร (ผศ.ดร.เสาวภา โชติสุวรรณ)   saowapa.c@psu.ac.th
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์   073-335130 ext 1845


บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์