หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง
M.Sc. (Fishery Science and Technology)
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติให้มีความรู้ ทักษะการวิจัย มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประมวลและบูรณาการความรู้ที่ได้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมงกับศาสตร์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรที่บูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน เข้าด้วยกัน คือ การจัดการทรัพยากรประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ประมง และเทคโนโลยีชีวภาพทางน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของภาคใต้
- หลักสูตรได้จัดทำเป็นหลักสูตรร่วมสองปริญญากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ (Double degree program) กับ Universiti Malaysia Sabah, Universiti Malaysia Terengganu ประเทศมาเลเซีย และ Kanazawa University ประเทศญี่ปุ่น
- มีความร่วมมือในการทำวิจัยหรือการเป็นที่ปรึกษาร่วมกับ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ Can Tho University ประเทศเวียดนาม Ocean University of China ประเทศจีน University of Hong Kong และ City University of Hong Kong เป็นต้น
- มีแหล่งทำวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย
แนวทางการประกอบอาชีพ
นักวิชาการประมงและนักวิจัยในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการและนักธุรกิจด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมง ทรัพยากรประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเล อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยด้านทรัพยากรประมงที่สำคัญบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดเด่นบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง และเทคโนโลยีชีวภาพทางน้ำ
หมวดวิชา |
แผน ก แบบ ก 1 |
แผน ก แบบ ก 2 |
หมวดวิชาบังคับ |
– |
9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก |
– |
9 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ |
36 หน่วยกิต |
18 หน่วยกิต |
รวมตลอดหลักสูตร |
36 หน่วยกิต |
36 หน่วยกิต |
รายวิชา แผน ก
แบบ ก 1 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รหัสวิชา |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
730-591 | วิทยานิพนธ์ Thesis |
36(0-108-0) |
730-595 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง 1* Seminar in Fishery Science and Technology I* |
1(0-2-1) |
730-596 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง 2* Seminar in Fishery Science and Technology II* |
1(0-2-1) |
* กำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนโดยไม่นับหน่วยกิต
รายวิชา แผน ก แบบ ก 2
ก. หมวดวิชาบังคับ จำนวน 9 หน่วยกิต
รหัสวิชา |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
730-593 | สถิติและระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง Statistics and Research Methodology in Fishery Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-594 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมงแบบบูรณาการ Integrated Fishery Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-595 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง 1 Seminar in Fishery Science and Technology I |
1(0-2-1) |
730-596 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง 2 Seminar in Fishery Science and Technology II |
1(0-2-1) |
730-597 | ความก้าวหน้า และ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง Advance and Innovation in Fishery Science and Technology |
1(0-2-1) |
ข. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
รหัสวิชา |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
730-511 | สรีรวิทยาของสัตว์น้ำ Physiology of Aquatic Animals |
3(2-3-4) |
730-512 | โภชนศาสตร์ของสัตว์น้ำ Aquatic Animal Nutrition |
3(2-3-4) |
730-513 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ Economic Finfish Culture Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-514 | เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ปลาวัยอ่อน Fish LarvaePropagation Technology |
3(2-3-4) |
730-515 | เทคโนโลยีพืชน้ำ Aquatic Plant Technology |
3(2-3-4) |
730-516 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมงอินทรีย์ Organic Fishery Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-517 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีเปลือก Shellfish Culture Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-518 | วิทยาเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ Aquatic Animal Histopathology |
3(2-3-4) |
730-519 | ปรสิตของสัตว์น้ำ Parasitology of Aquatic Animals |
3(2-3-4) |
730-520 | การจัดการสุขภาพของสัตว์น้ำ Aquatic Animal Health Management |
3(2-3-4) |
730-521 | วิทยาภูมิคุ้มกันของสัตว์น้ำ Aquatic Animal Immunology |
3(2-3-4) |
730-522 | กฎหมายและมาตรฐานในการผลิตสัตว์น้ำ Laws and Standards in Aquatic Animal Production |
3(3-0-6) |
730-523 | หัวข้อเลือกสรรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง Selected Topics in Fishery Science and Technology |
3(2-3-4) |
730-531 | เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ Fish Post Harvest Technology |
3(2-3-4) |
730-532 | การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรทางน้ำ Value Addition of Aquatic Resources |
3(2-3-4) |
730-533 | อาหารสุขภาพจากพืชและสัตว์น้ำ Nutraceutical from Aquatic Plants and Animals |
3(3-0-6) |
730-534 | สารเจือปนอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ Food Additives in Fishery Processing Industry |
3(2-3-4) |
730-535 | เทคโนโลยีการใช้ความร้อนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง Thermal Technology in Processing of Fishery Products |
3(2-3-4) |
730-536 | ระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ประมง Quality Assurance System in Fishery Product Industry |
3(2-3-4) |
730-537 | เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ประมงฮาลาล Technology of Halal Fishery Products |
3(2-3-4) |
730-538 | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงและการประเมินทางประสาทสัมผัส Fishery Product Development and Sensory Evaluation |
3(2-3-4) |
730-541 | เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย Algal Biotechnology |
3(2-3-4) |
730-542 | เทคโนโลยีการแยกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้บริสุทธิ์ Aquatic Product Purification Technology |
3(2-3-4) |
730-543 | เทคโนโลยีดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้สำหรับสัตว์น้ำ DNA Technology and Applications for Aquatic Animals |
3(2-3-4) |
730-544 | เทคโนโลยีชีวภาพทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ Aquaculture Biotechnology |
3(2-3-4) |
730-551 | ความก้าวหน้าทางนิเวศวิทยาทางน้ำ Advance in Aquatic Ecology |
3(2-3-4) |
730-552 | การจัดการชายฝั่งเขตร้อนแบบบูรณาการ Integrated Tropical Coastal Zone Management |
3(2-3-4) |
730-553 | ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง Marine and Coastal Ecosystems and Biodiversity |
3(2-3-4) |
730-554 | การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับทรัพยากรชายฝั่ง Environmental Impact Assessment for Coastal Resources |
3(2-3-4) |
730-555 | การจัดการทรัพยากรประมง Fishery Resource Management |
3(2-3-4) |
730-556 | การสำรวจระยะไกลเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง Remote Sensing for Coastal Resource Management |
3(2-3-4) |
730-557 | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง Geographic Information System for Coastal Resource Management |
3(2-3-4) |
ค. หมวดวิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | หน่วยกิต |
730-592 | วิทยานิพนธ์ Thesis |
18(0-54-0) |
แผน ก แบบ ก 1
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการประมง ประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ประมง วาริชศาสตร์ ชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
- มีประสบการณ์ในการทำวิจัยไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
- มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
แผน ก แบบ ก2
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการประมง ประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์ประมง วาริชศาสตร์ ชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- มีคุณสมบัติอื่นๆตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
ข้อมูลติดต่อ
ประธานหลักสูตร (รองศาสตราจารย์ ดร. ซุกรี หะยีสาแม) sukree.h@psu.ac.th