Preaload Image
Back

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมง
B.Sc. (Fishery Technology and Innovation)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program objectives)

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีทักษะปฏิบัติทางเทคโนโลยีการประมง มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถประมวลและบูรณาการความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่น มีสมรรถนะในการพัฒนาตนเอง สามารถตอบสนองต่อความต้องการในภาคการประมงทั้งในระดับท้องถิ่น ภาคใต้และระดับประเทศ

จุดเด่นของหลักสูตร (Program highlights)

  • หลักสูตรมีความทันสมัย ผลิตบัณฑิตที่สามารถตอบสนองการผลิตทางการประมงได้ตั้งแต่ต้นน้ำ (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) กลางน้ำและปลายน้ำ (ผลิตภัณฑ์ประมง) ตอบสนองตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
  • หลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการประมง (ASEAN-FEN) ทั้งในและต่างประเทศ
  • มีงานวิจัยหลากหลายทั้งด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการทรัพยากรประมงแบบบูรณาการ และผลิตภัณฑ์ประมง
  • นักศึกษามีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เยี่ยมชม ฝึกงาน และลงทะเบียนเรียนแบบเทียบโอนหน่วยกิต กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ
  • คณาจารย์มีความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

จุดเน้นงานวิจัย (Main research focus)

  • ความหลากหลายของชนิด ชีววิทยาของสัตว์น้ำและนิเวศวิทยาของสัตว์น้ำ: หอยทะเล แมงดาทะเล เอคไคโนเดิร์ม สาหร่ายทะเล ปูทะเล ปลาดุกทะเล
  • การจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์ฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • การเพาะเลี้ยงปูทะเล (ปูขาว) เพื่อเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือก
  • การเลี้ยงหอยแมลงภู่เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล: สาหร่ายไส้ไก่ สาหร่ายผมนาง สาหร่ายพวงองุ่น สาหร่ายผักกาด
  • โรค ปรสิตของสัตว์น้ำ และการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ
  • ชนิด การแพร่กระจายของสัตว์น้ำกลุ่มเอคไคโนเดิร์มในเขตชายฝั่ง
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมง
  • การประเมินศักยภาพของพื้นที่และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง
  • อาหารเพื่อสุขภาพของสัตว์น้ำ (Functional feed of aquatic animals)
  • สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายในแผนการเรียนของวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หรือ
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกภายใต้โครงการรับนักเรียนโดยวิธีพิเศษเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์/พนักงานราชการ ในหน่วยงานภาครัฐ (มหาวิทยาลัย กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) นักวิจัย นักวิชาการ และพนักงานส่งเสริมการการขาย ในธุรกิจภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งในและต่างประเทศ บุคลากรปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปสัตว์น้ำและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง

  • แผนทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
  • แผนสหกิจศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต

รายละเอียดของรายวิชาและแผนการเรียน สามารถอ่านได้ที่

https://edumanual.psu.ac.th/document/2563/bsc/ptn_sat/sat-cur-fishtech-63.pdf

  • เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล: สาหร่ายไส้ไก่ สาหร่ายผมนาง สาหร่ายพวงองุ่น สาหร่ายผักกาด
  • การเลี้ยงหอยแมลงภู่เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งในอ่าวปัตตานีอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงหอยหวานต้นทุนต่ำ
  • การค้นพบปูชนิดใหม่ของโลก
  • การเพาะพันธุ์ปลาดุกทะเล
  • การผลิตอาหารสัตว์น้ำมีชีวิตจากของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเกษตร
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวปลาและหอยเศรษฐกิจ
  • อาหารเพื่อสุขภาพของสัตว์น้ำ (Functional feed of aquatic animals)

ข้อมูลติดต่อ

  • ดร.จิติมา สุวรรณมาลา) jitima.s@psu.ac.th   โทร: 088-7884529